คำถามที่น่าสนใจและมักถูกถามจากผู้ปกครอง เรื่องวอลดอร์ฟ ตอนที่4 (คำถามที่9-15)


เนื้อหาที่นำเสนอนี้ เป็นการรวบรวมคำถามที่มักถูกผู้ปกครองตั้งคำถามกันอยู่เสมอๆ เกี่ยวกับการศึกษาแบบวอลดอร์ฟในต่างประเทศ ซึ่งก็คล้ายๆกับที่เรามักถามๆกัน ผมมีบทแปลทั้งหมด15ข้อ โดยจะทยอยนำลงเป็นตอนๆ

คำถามในต้นฉบับภาษาอังกฤษมีทั้งหมด 24 ข้อ สามารถอ่านจากต้นฉบับภาษาอังกฤษทั้งหมดได้ที่Linkนี้ครับ http://www.waldorfanswers.org/WaldorfFAQ.htm

คำถามที่  9-15

9. ทำไมถึงเน้นงานประเพณีในเทศกาลต่างๆอย่างมาก
งานประเพณีในวาระเทศกาลตามฤดูกาลต่างๆ เป็นการเชื่อมโยงมนุษย์เข้ากับจังหวะของธรรมชาติและจักรวาล งานประเพณีกำเนิดขึ้นมาตั้งแต่ยุคโบราณ และยืนยงมาถึงปัจจุบัน เพื่อที่จะมีอารมณ์ร่วมในแต่ละฤดูกาลของปี เป็นการสะท้อนสภาวะภายในของจิตวิญญาณ งานเฉลิมฉลองเป็นเหมือนงานศิลปะอย่างหนึ่ง มันเป็นความสุขที่เกิดขึ้น นับตั้งแต่การได้ลงมือกระทำ การตระเตรียมงาน การฉลอง และความทรงจำที่ดีกับงานเทศกาลนั้นๆ

10.ทำไมโรงเรียนวอลดอร์ฟจึงไม่เห็นด้วยกับการดูทีวี
เหตุผลที่เป็นเช่นนี้เพราะได้พบว่า การดูทีวีส่งผลกระทบ ทางกายภาพอย่างมากต่อเด็กที่กำลังอยู่ในช่วงอายุของการเติบโตและพัฒนา จาก รายการต่างๆที่อยู่ในทีวี สื่อทีวีถูกเชื่อว่าเป็นตัวปิดกั้นการพัฒนาจินตนาการของเด็ก ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาเด็ก แต่ละคนให้มีคุณภาพ ทีวีนำเสนอสิ่งที่เป็นความรู้สำเร็จรูป บั่นทอนเวลาที่เด็กจะได้ใช้ไปกับการค้นพบความจริงด้วยตัวเอง จากการเล่น จากการปฏิบัติ และตรึงสายตาและร่างกายให้หยุดนิ่งอยู่กับจอทีวี เมื่อตาเด็กจ้องอยู่ที่ทีวี การเคลื่อนไหวของดวงตาจะลดลงไปสู่การจ้องที่จุดเดียว เด็กเล็กจำเป็นต้องมีการฝึกการเคลื่อนไหวเพื่อหาโฟกัส เป็นการออกกำลังให้สายตาเข้มแข็ง ขบวนการเรียนรู้หรือการตื่น กระตือรือร้น ซึ่งเด็กเล็กๆจะฝึกเรียนรู้จากการลงมือกระทำ จากการดูจนเกิดพลังเจตจำนง เช่น อยากอ่านหนังสือ แต่ทีวีจะทำให้ผู้ดูขณะที่ดูเฉื่อยชา ขาดแรงจูงใจความมุ่งมั่น และทำให้ไม่ได้มีโอกาสฝึกฝนทักษะต่างๆของร่างกาย ทั้งนี้คอมพิวเตอร์ก็มีผลกระทบกับเด็กเช่นเดียวกับทีวี
ไม่ใช่แต่ในโรงเรียนวอลดอร์ฟเท่านั้นที่คิดเช่นนี้ หนังสือหลายๆเล่มในหลายปีที่ผ่านมา ก็ได้พูดถึงผลของทีวีต่อเด็กไว้มากมาย

11. ทำไมเด็กนักเรียนวอลดอร์ฟถึงมีครูประจำชั้นคนเดิมตลอด 8 ปี

ในระหว่างอายุ 7-14 ปี เด็กเรียนรู้ได้อย่างมากจากการยอมรับและการเลียนแบบ ในช่วงแรกๆของเด็ก เด็กจะเรียนรู้จากเลียนแบบ ในชั้นประถมต้นเป็นช่วงที่เด็ก พึ่งเริ่มพบกับประสบการณ์ใหม่เพิ่มเติมจากที่บ้านและครอบครัว ชั้นเรียนเปรียบเสมือนครอบครัวอีกครอบครัวหนึ่ง และครูก็เป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว
ด้วยแนวคิดเช่นนี้ เด็กและครูได้เรียนรู้กันและกัน และตลอดช่วงหลายปีที่อยู่ด้วยกัน ครูจะค่อยๆเรียนรู้และค้นพบแนวทางที่เหมาะสมที่สุดในการช่วยพัฒนาเด็กแต่ละคนแต่ละคนไป ครูประจำชั้นเปรียบเสมือนสมาชิกคนหนึ่ง ของครอบครัวของชั้นเรียนของเด็กๆ
ความรู้สึกและความมุ่งมั่นตั้งใจของครูถูกถ่ายทอดสู่เด็กโดยตรงด้วยพลังทั้งหมดในตัวครู ครูไม่ใช่เพียงแค่ผู้อำนวยการ ความสะดวกในการเรียนรู้ด้วยตนเองของเด็ก ครูมิใช่เป็นผู้เรียกร้องหรือสร้างกฎเกณฑ์การกระทำของเด็ก แต่ครูเป็นผู้ส่งพลังความมุ่งมั่นที่มีในตัวทั้งหมดให้แก่เด็กโดยการเป็นแบบอย่างของบุคคลที่พัฒนาความเป็นมนุษย์ในตัวเองตลอดเวลา พลังความมุ่งมั่นตั้งใจของครูจะเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนากายและจิตวิญญาณของเด็กทั้งในวัยด็กและวัยผู้ใหญ่

12. จะมีปัญหาหรือไม่เมื่อเด็กจากโรงเรียนวอลดอร์ฟ เปลี่ยนไปเรียนโรงเรียนแบบปรกติทั่วไป
โดยปกติแล้วการย้ายไปเรียนโรงเรียนทั่วไป ไม่ได้เป็นปัญหาแต่อย่างใด โดยปรกติที่อาจเกิดขึ้นคือเด็กย้ายไปเรียนในโรงเรียนทั่วไปในช่วงไฮสคูล ซึ่งก็ไม่ได้พบความยุ่งยากแต่อย่างใด เพราะในโรงเรียนวอลดอร์ฟ เด็กได้เรียนรู้พื้นฐานของการ แสวงหาความรู้ ความรักที่จะเรียนรู้
สำหรับการย้ายไปเรียนในช่วง เกรด 1-4 มีแนวโน้มที่จะมีปัญหา เนื่องเพราะความแตกต่างในแผนการเรียนการสอน เด็กเกรด 2 ในโรงเรียนทั่วไป สามารถอ่านได้แล้ว ขณะที่เด็กในวอลดอร์ยังพึ่งเริ่มเรียน ในทางตรงข้ามเด็กวอลดอร์ฟจะก้าวหน้าไปมากกว่าแล้วในวิชาคณิตศาสตร์

13. อะไรคือ มนุษยปรัชญา
มนุษยปรัชญา หรือ Anthroposophy มาจากรากศัพท์ของคำสองคำ คือ anthro แปลว่า มนุษย์ sophy แปลว่าปัญญา (wisdom) Anthroposophy เป็นแนวปรัชญาที่ Dr.Rudolf Steiner คิดค้นขึ้นมา จากการไต่สวนเฝ้าสังเกตทางวิทยาศาสตร์ สไตเนอร์มีความคิดว่าวิทยาศาสตร์สมัยใหม่อธิบายมนุษย์ได้เพียงแค่ด้านกายภาพ ปฏิเสธสิ่งที่จับต้องไม่ได้ และยึดติดทัศนคติทางด้านวัตถุนิยมเกินไป เช่นการมองว่าหัวเป็นแค่เครื่องปั๊มเลือดให้ไหลเวียนในร่างกาย สมองเป็นดั่งเครื่องจักรแปรสัญญาณเท่านั้น สไตเนอร์ อธิบายว่า ถ้าต้องการทำความเข้าใจมนุษย์นั้น ต้องมองดูให้ทั่วทั้งสามด้านคือ กาย ใจ และจิตวิญญาณ (Body – Soul – Spirit) และมนุษย์นั้นประกอบด้วยกายสี่กาย ซึ่งมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกับอาณาจักรธรรมชาติสี่อาณาจักร คือ มนุษย์มีกายร่างที่จับต้องได้ (Physical body) เช่นเดียวกับอาณาจักรแร่ธาตุ พืช และสัตว์ มนุษย์มีกายชีวิต (Etheric body) ซึ่งเป็นพลังทำงานอยู่ในกายร่างเช่นเดียวกับอาณาจักรพืชและสัตว์ มนุษย์มีกายแห่งความรู้สึก (Astral body) เช่นเดียวกับอาณาจักรสัตว์ แต่มนุษย์เป็นหนึ่งเดียวในธรรมชาติที่มีกายแห่งความสำนึกตัวตนแบบปัจเจกชน (Spirit body or the Ego) ซึ่งทำให้มนุษย์แต่ละคนนั้นมีความแตกต่างกัน แม้จะมีชาติพันธุ์ และอยู่ในวัฒนธรรมสังคมเดียวกันก็ตาม มนุษย์สามารถพัฒนาอารยธรรม ขณะเดียวกันก็สามารถทำลายได้เช่นกัน
มนุษยปรัชญาเสนอแนวทางให้มนุษย์ได้ค้นหาและเรียนรู้ตามเส้นทางที่ตนเลือก เป็นวิถีปฏิบัติสู่ปัญญาญาณ มากกว่าที่จะเป็นศาสนา หรือเป็นข้อสรุป แต่เป็นผลจากการศึกษาด้วยตนเอง (Self education) มากกว่า

14. ยูริธมี่คืออะไร
ยูริธมี่คือศิลปแห่งการเคลื่อนไหว ที่สไตเนอร์ได้พัฒนาขึ้นป็นศิลปแห่งการเคลื่อนไหวร่างกายที่แสดงให้เห็นกฎเกณฑ์และโครงสร้างภายในของภาษาพูดและดนตรี ยูริธมี่จึงมีอีกชื่อว่าเสียงพูดและดนตรีที่มองเห็นได้ การฝึกยูริธมี่ช่วยจัดระเบียบและความกลมกลืนทั้งกายและจิตระดับต่างๆ ยูริธมี่สำหรับเด็กปฐมวัย มักเป็นคำกลอนที่ผูกเป็นนิทานหรือเรื่องเล่าสั้นๆ ที่ให้เด็กทำท่าประกอบ ท่าทางที่ออกแบบมานั้นเปรียบเหมือนท่าที่เป็นลมหายใจเข้าและออก

15. วอลดอร์ฟมีการพัฒนาครูอย่างไร
เอกลักษณ์อย่างหนึ่งของโรงเรียนวอลดอร์ฟคือ การพัฒนาครู หลักสูตรและการทำงานของครูมีพื้นฐานมาจากปรัชญาวิธีการมองมนุษย์และโลกที่เรียกว่า”มนุษย์ปรัชญา”(Anthroposophy)อันเป็นการค้นหาในระดับที่ลึกซึ่งว่า”มนุษย์คืออะไร” นี่เป็นการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ทั้งภายในและภายนอกระหว่างมนุษย์
กับโลกและเอกภพแนวทางการศึกษาของสไตเนอร์ก่อเกิดมาจากการมองความสัมพันธ์ระหว่างธรรมชาติมนุษย์และสังคมปรัชญานี้มิใช้คัมภีร์หากเป็นวิถีทางในการเรียนรู้ซึ่งทุกคนสามารถเข้าถึงได้ด้วยหัวใจที่เปิดกว้างและสมรรถภาพใหม่ๆในการการรับรู้
การนำปรัชญานี้มาแปรสู่การปฏิบัติเป็นภารกิจที่ครูทุกคนเผชิญหน้าอยู่ทุกวัน โรงเรียนวอลดอร์ฟมีหลักสูตรและวิธีการสอนที่เฉพาะเจาะจงแต่ก็ยืดหยุ่น มีวิธีการฝึกอบรมครูโดยเฉพาะสิ่งที่ครูจะต้องเรียนรู้คือปรัชญาชีวิตเมื่อปรับความคิดให้เข้ากับปรัชญานี้แล้วสิ่งนี้ก็จะอยู่ในจิตสำนึกของครูความสามารถในการสอนก็จะเกิดขึ้นมาได้เองโดยก่อกำเนิดออกมาจากองค์รวมสไตเนอร์เห็นว่าปัญหาสำคัญที่สุดของการศึกษาคุณภาพของครูฉะนั้นภารกิจประการแรกทางการศึกษา ก็คือการพัฒนาครู เพื่อครูจะได้เข้าสู่ห้องเรียนด้วยความมีสติ ไม่ใช่แค่เฉพาะในสิ่งที่สอนหรือเตือนเด็ก หรือมิใช่มีเฉพาะความเชี่ยวชาญในการสอนเท่านั้น สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยภายนอกซึ่งเราจะต้องพัฒนาขึ้นมาอย่างแน่นอนแต่เราจะพัฒนาขึ้นมาได้อย่างถูกทางหากตระหนักใความสำคัญของความสัมพันธ์ระหว่าง ความคิดในใจเรากับผลที่การสอนของเรามีต่อนักเรียนทั้งกาย ใจ เส้นทางการพัฒนาของครูคือก้าวเข้าสู่จิตสำนึกของมนุษย์และเอกภพ พร้อมทั้งก้าวเข้าสู่การสอนในฐานะบทฝึกฝนจิตสำนึกดังกล่าว ครูไม่เพียงต้องบ่มเพาะนักเรียนในห้องเท่านั้น หากยังต้องบ่มเพาะตนเองด้วย งานสอนไม่เพียงเป็นการพัฒนานักเรียนหากแต่ยังเป็นการพัฒนาตัวครูเองด้วยงานอาชีพและการแสวงหาความหมายของตัวเองกลายเป็นสิ่งเดียวกันด้วยเหตุนี้จึงก่อให้เกิดความกระตือรือร้นพลังการทุ่มเทชีวิตจิตใจอันเป็นบรรยากาศของโรงเรียนวอลดอร์ฟหลักสูตรและวิธีการของวอลดอร์ฟสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างยืดหยุ่นกว้างขวางครูจึงมีอิสระที่จะใช้ความสร้างสรรค์ส่วนตัวในห้องเรียนได้เต็มที่ขณะเดียวกันก็มีวิสัยทัศน์และวัตถุประสงค์รวมกันเป็นหลักยึด ครูทุกคนมีพันธะทางใจร่วมกันต่อปรัชญาอันเป็นที่มาของหลักสูตร ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และความละเอียดอ่อนต่อเด็กจะทำให้ครูพยายามจัดรูปเนื้อหาของวิชาให้มีชีวิตชีวา เพื่อให้เหมาะสมกับภูมิหลัง ความสามารถและลักษณะเฉพาะของนักเรียนแต่ละกลุ่ม ครูจะศึกษาร่วมกัน ปรึกษาหารือกัน กำหนดนโยบาย บริหารกิจกรรมของโรงเรียนร่วมกัน ตลอดจนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหาทางช่วยเหลือกันในการพัฒนาเด็ก สไตเนอร์ย้ำว่า ครูต้องไม่เพียงทำงานร่วมกันเท่านั้น แต่ยังทำงานให้กันอีกด้วย

ตัวอย่างคำถามทั้งหมด

การศึกษาแบบ วอลดอร์ฟคืออะไร
อะไรคือ จุดเด่นของการศึกษาแบบวอลดอร์ฟ
หลักสูตรการสอน มีลักษณะอย่างไร
การศึกษาแบบ วอลดอร์ฟเริ่มต้นขึ้นอย่างไร
มีโรงเรียนวอลดอร์ฟมากแค่ไหน
อะไรคือ ปรัชญา เบื้องหลังการศึกษาวอลดอร์ฟ
ใครคือ รูดอล์ฟ สไตเนอร์
โรงเรียนวอลดอร์ฟ มีวิธีสอนการอ่านอย่างไร และทำไมนักเรียนวอลดอร์ฟ จึงต้องรอจนเกรด2 ถึงจะเริ่มเรียนการอ่านหนังสือ
ทำไมถึงเน้นงานประเพณีในเทศกาลต่างๆอย่างมาก
ทำไมโรงเรียนวอลดอร์ฟจึงไม่เห็นด้วยกับการดูทีวี
ทำไมเด็กนักเรียนวอลดอร์ฟถึงมีครูประจำชั้นคนเดิมตลอด 8 ปี
จะมีปัญหาหรือไม่เมื่อเด็กจากโรงเรียนวอลดอร์ฟ เปลี่ยนไปเรียนโรงเรียนแบบปรกติทั่วไป
อะไรคือ มนุษยปรัชญา
ยูริธมี่คืออะไร
วอลดอร์ฟมีการพัฒนาครูอย่างไร

ใส่ความเห็น